\

Learning Log 15

Tuesday, 21 November 2560

ความรู้ที่ได้รับ
  นักศึกษาที่เหลือนำเสนอการทดลอง และให้คำแนะนำกับนักศึกษา
ซึ่งของดิฉันอาจารย์แนะนำและอธิบายเพิ่มเติมดังนี้
เรื่อง การละลาย
1.การแนะนำอุปกรณ์ อุปกรณ์คือเทคโนโลยี 
  -->  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นเทคโนโลยี
2.ถ้าบอกอุปกรณ์ สัดส่วนบอกตัวเลขให้เห็นด้วย บอกทั้งอุปกรณืและสัดส่วน
3.สอนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนตักเกลือ หลังตักเกลือเกิดอะไรขึ้น ให้เด็กสังเกต
4.ตั้งสมมติฐาน
5.ทดลอง
6.สังเกตเกลือเป็นอย่างไร ดินเป็นอย่างไร 
7.ให้เด็กๆดูว่าเกลือหายไปไหน
8.สิ่งสำคัญคือการจุดเทียนต้องอยู่ในวามดูแลของผู้ใหญ่

เรื่อง การจมการลอย
1.ตัวแปรต้นต้องไม่มีตัวแทรกซ้อนออกมา / มาตรฐาน
2.น้ำต้องปริมาณเท่ากัน
3.น้ำต้องอุณหภูมิเท่ากัน
4.เกลือต้องเติมที่หลัง
5.ไข่จมเพราะอะไร
6.ให้เด็กๆสังเกต
7.อาจจะบูรณาการกับไข่เค็ม
http://plengsinee.blogspot.com/?fref=gc

การเรียนรู้ STEM โดยการทำ Cooking

ขั้ตอนที่ 1 การออกแบบรูปแบบของเกี๊ยว บอกอุปกรณ์และวิธีทำให้ชัดเจน ( Engineering )


ขั้นตอน2 เตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ์ ( Technolgy )


3.ตักวัตถุดิบใส่ในถ้วยผสม วิธีตักให้ตักหมู คนละ 1 ช้อน มี 3 คนตัก 3 ช้อน ตักแครอท มี 3 คน ตักคนละ 1 ช้อน ตักผักชีคนละ 1 ช้อน แผ่นเกี๊ยวคนละ 2 แผ่น 3 คน 6 แผ่น (Math)


ขั้นตอน 4 ผสมวัตถุดิบให้เข้ากัน



ขั้นตอนที่ 5 ขูดแป้งเกี๊ยวเพื่อที่เวลาทอดนำมันจะได้ไม่ขุ่น


ขั้นตอนที่ 6  ห่อเกี๊ยวตามแบบที่ได้วางไว้




ขั้นตอนที่ 7 คุณครูดำเนินการโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ( Science )



การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
      การจัดการเรียนรู้แบบ STEM ทำให้เด็กๆได้คิด ออกแบบ สังเกต ไปจนถึงการลงมือปฏิบัติทำให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน เมื่อเด็กๆได้เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STEM บ่อยๆจะเป็นทำให้เด็กมีประสบการณ์มากขึ้น ในอนาคตเด็กๆจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็สามารถทำได้เอง

ประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมและเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ STEM
เพื่อน : ให้ความร่วมมือและแสดงความคิดเห็นช่วยกันออกแบบ
อาจารย์ : ให้คำแนะนำอยู่เสมอในขณะที่นักศึกษากำลังลงมือปฏิบัติ

Vocabulary
melting = การละลาย
step = ขั้นตอน
equipment = อุปกรณ์
Cooking = การทำอาหาร
often = บ่อยๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น